วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2551


Blog: กระแสบนโลกอินเตอร์เน็ท ผลิกโฉมการจัดการความรู้ในองค์การ
นิธิธัช กิตติวิสาร
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
…………………………………………………………………………

ปัจจุบัน Blog ได้เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารที่สำคัญในโลกไซเบอร์ที่ได้รับความนิยมมาก เพราะมันเป็นสื่อ Interactive เมื่อผู้อ่านอ่านอะไรอยู่ แล้วอยากรู้รายละเอียดมากขึ้น ผู้อ่านก็สามารถ click ไปยัง website อื่นที่เกี่ยวข้องดูว่าคนอื่นเขียนอะไรอย่างไร เช่น click เข้าไปใน website
http://kmblogs.com/public ก็จะพบเรื่องราวต่างๆมากมาย แม้แต่บิลเกตต์ ยังกล่าวถึง blog ว่า “ ในอนาคต การสื่อสารภายในองค์กรจะใช้ blog เป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญ” นักบริหารที่มีชื่อเสียงจะมี blog ไว้แสดงความก้าวหน้าในการพัฒนางานของตนเอง เมื่อนำ blog ของทุกคนมารวมกันจะเป็นชุมชนปฏิบัติ( Community of Practices) ที่ใหญ่มากในโลกไซเบอร์



เราเข้าใจ blog หรือยัง
ต้นกำเนิด Webblog นั้น เริ่มมีใช้มาตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 1997 โดยผู้ที่คิดชื่อนี้คือ Jorn Barger Blog เป็นเว็บไซต์ที่สามารถเป็นได้หลากหลายอย่างแล้วแต่เจ้าของอยากให้เป็น ตั้งแต่ไดอารีส่วนตัว สถานที่สำหรับใช้ในการทำงานร่วมกัน (collaborative work space) หรือสภากาแฟสำหรับคุยเรื่องการเมือง แหล่งรวมข่าวสารความเป็นไป แหล่งรวมลิงค์ ไปจนถึงสมุดบันทึกความเป็นไปของโลกใบนี้ สรุปก็คือ "Blog" เป็นที่ซึ่งเราเอาไว้เขียนเรื่องราวที่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยเรื่องที่เขียนเข้าไปใหม่ จะอยู่ส่วนบนสุด ซึ่งทำให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม สามารถอ่านเรื่องราวใหม่ๆได้ และยังสามารถที่จะเสนอแนะหรือติชมได้ ในกรณีที่เจ้าของ Blog นั้นๆ อนุญาต blog ที่ได้รับความนิยมก็จะเป็น blog ที่มีข้อมูล (content) ดี ที่ทำให้คนติดใจต้องกลับมาติดตามอ่านทุกครั้ง ที่มีการอัพเดท หรือโพสต์เพิ่มเติม คนทั่วไปส่วนมาก มักจะแยกไม่ออกว่าอะไรคือ blog นอกจากคำจำกัดความข้างต้น โดยทั่วไปแล้ว blog จะมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า เว็บไซต์ทั่วไป blog จะถูกสร้างขึ้นจากคนๆเดียว และข้อมูลที่เขียนก็จะมาจากคนๆเดียว เป็นเรื่องที่เขียนถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของคนๆนั้นเท่านั้น ทำให้คนธรรมดาทั่วไปทุกคน ได้แสดงความคิดเห็นที่เป็นของตัวเองโดยไม่ต้องผ่านสื่อใดๆ ที่อาจจะคอยกลั่นกรองเรื่องราว เพียงเพราะว่าสิ่งนั้นๆ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากคนส่วนใหญ่ในสังคม หรืออาจจะไม่มี "เนื้อที่" อาทิ "หน้ากระดาษ" ถ้าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และ เวลา ถ้าเป็นสื่อวิทยุหรือโทรทัศน์ เพียงพอที่จะผ่านสื่อนั้นออกไป ในประเทศที่ประชาชนทั่วไปเชื่อว่า เนื้อหาต่างๆถูกควบคุม หรือ เซ็นเซอร์ อาทิ จีน เกาหลีเหนือ หรือในประเทศที่ประชาชนมีความเป็นตัวของตัวเองสูง เชื่อมั่นในความเชื่อของตัวเอง อย่างสหรัฐอเมริกา เนื่องจากใครก็ได้สามารถสร้าง blog ขึ้นมาได้ โดยขณะนี้ สามารถทำบล็อกได้ฟรีๆ จากหลายเว็บไซต์ เท่านี้ทุกๆคนสามารถเป็น "สื่อ" ได้ด้วยตัวเอง


ประโยชน์ของ blog ในการจัดการความรู้ในองค์กร
1. ใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้

2. เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้

3. ใช้เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้

4. เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ

5. เป็นเครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้

6. เป็นเครื่องมือในการสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้โดยผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้

7. ใช้เป็นเครื่องมือแสดงรายละเอียดของแก่นความรู้อย่างเป็นระบบ

8. เป็นศูนย์ความรู้ขององค์การ เพราะให้พนักงาน/บุคลากร


ในยุคนี้ จึงกล่าวได้ว่ากระแสของ Blog มาแรงมากในการใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญภายในองค์การ ระหว่างองค์การและในโลกไซเบอร์ที่ทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่าน blog ได้ Blog จากเดิมเพื่อการส่วนตัว กลายมาเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน และสร้างแบรนด์เพื่อหน่วยงาน ยิ่งองค์กรมีกำลังในการให้บริการ ก็พลิกผันเนื้อที่ Blog มาเป็นพื้นที่บริการให้เช่าใช้เป็นไดอารี่ส่วนตัว หรือเปิดเป็นบ้านไว้ต้อนรับแขกที่เชิญได้สบายๆ ผู้บริหารก็สามารถเปิด blog เป็นห้องผู้บริหารไว้บัญชาการให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำไปปฏิบัติ และรายงานผลการปฏิบัติให้ทราบได้ทันที คนอื่นที่เข้ามามาดูก็ได้ทราบเรื่องราวต่างๆ หรือเรื่องราวที่ผู้บริหารถ่ายทอดความรู้จากการไปประชุมพบปะผู้คน แล้วอย่างนี้ไม่เรียกว่า Blog พลิกโฉมตัวเองให้มี(คุณ)ค่าต่อองค์กร


นโยบายสารสนเทศ


นโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือพิมพ์

นโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือพิมพ์ เป็นแผนงานที่กำหนดขึ้นโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับแนวปฏิบัติและข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบในการตัดสินใจในการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือพิมพ์ ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือพิมพ์ ทุกฝ่ายสามาดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน ไปสู้เป้าหมายอันเดียวกันได้อย่างเหมาะสม ไม่ขัดแย้งกัน
นโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือพิมพ์ หรืออาจมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น เช่นนโยบายการจัดหา หรือ
นโยบายการเลือกก็ได้ แต่ความหมายที่แท้จริงแล้ว นโยบายการเลือกและนโยบายการจัดหามักจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาประกอบการเลือกซื้อและการจัดหาเป็นสำคัญ ส่วนนโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือพิมพ์ จะมีรายละเอียดที่คลอบคลุมการปฏิบัติงานการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือพิมพ์ทุก ๆ ด้าน นับตั้งแต่การเลือก การจัดหา การคัดลอกการประเมินผลและการร่วมมือระหว่างสถาบัน อย่างไรก็ตามเราก็มักเรียกชื่อนโยบายเหล่านี้ในความหมายที่แทนกันได้ด้วย โดยทั่วไปนโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือพิมพ์ของแต่ละสถาบันของแต่ละสถาบันจะมีความแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ หน้าที่ นโยบายและการให้บริการของประเภทหนังสือพิมพ์ เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดความต้องการด้านทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือพิมพ์ อย่างไรก็ตามนโยบายที่ดีก็ควรมีการกำหนดแนวปฏิบัติ และข้อมูลที่สำคัญที่จำเป็นต่อการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากร

การเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน หากจะพึ่งพาเนื้อหาในห้องเรียนอย่างเดียวนั้นคงไม่ได้ ปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ การรู้รอบและรู้กว้าง การค้นคว้า ก็เป็นการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน การค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาทรัพยากร เป็นแผนงานที่กำหนดขึ้นโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับแนวปฏิบัติโดยมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน โดยเฉพาะในเรื่องนโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือพิมพ์ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เรียนรู้ในเรื่องวิชาชีพของผู้เรียนการจัดทำนโยบายเป็นแขนงงานหนึ่ง ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและเรียน ในการจัดทำนโยบายจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่ดี เรียนรู้วิธีการจัดทำเพื่อให้ได้นโยบายที่ดีที่สุด
การจัดทำนโยบาย การจัดการทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือพิมพ์ โดยพิจารณาจากเนื้อหา ความต้องการของผู้ใช้ภายในองค์กรเอง ดังนั้นในการจัดทำนโยบายสารสนเทศ จึงเป็นเสมือนแผนภูมิในการวางแผนดำเนินงานต่างๆ ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ในนโยบายมากขึ้นและมุ่งสู่เป้าหมายแห่งการเรียนรู้ที่วางไว้ย่างแท้จริง